แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
1. อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง ระบบนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร
ตอบ
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว นอกจากนี้ระบบยังช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหารระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน

2. ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับระดับสูงมีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ
ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชืงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

3. ลักษณะของ ESS และความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงต่อความสำเร็จของระบบเป็นอย่างไร
ตอบ
1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
3. เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
4. สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร6. มีระบบรักษาความปลอดภัย
ข้อ

4. Internet ช่วยสนับสนุนการทำงานของ ESS ได้อย่างไร
ตอบ เป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของระบบ ESS ยังเป็นที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การได้

5. ESS และ DSS แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ
1. ระบบ DSS จะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบ EIS จะเน้นการให้สานสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
2. ระบบ DSS จะมีส่วนของการใช้งานที่ไม่ง่ายเท่ากับระบบ EIS เนื่องจากระบบอีไอเอาเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้เอง
3. ระบบ DSS สามารถสร้างขึ้นมาบนระบบ DSS เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบ EIS จะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบ DSS และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบ DSS ส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย

-------------------------------------------------------------------------------------------------

กรณีศึกษา: ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่บริษัทเฮิร์ตซ์

กรณีศึกษา: ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่บริษัทเฮิร์ตซ์ : An Executive Ilformation System at Hertz Corporation
เฮิร์ตซ์ (Hertz) เป็นบริษัทให้บริการเช่ารถยนต์รายใหญ่ที่สุดของธุรกิจการเช่ารถ โดยให้บริการเช่ารถในหลายร้อยแห่งทั่วโลก เละมีคู่แข่งที่สำคัญหลายสิบราย
การตัดสินใจด้านการตลาดของธุรกิจให้บริการเช่ารถยนต์จะขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมของแต่ละแห่งซึ่งจำเป็นต้องอาศัยสารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจ เช่น สารสนเทศเกี่ยวกับสถานที่ เทศการกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การสนับสนุนการขายที่ผ่านมา ข้อมูลของผู้แข่งขัน รวมถึงพฤติกรรมของลูกค้า ฯลฯ ด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลเช่นนี้การประมวลผลย่อมต้องอาศัยคอมพิวเตอร์อย่างแน่นอน แต่ปัญหาที่บริษัทฯพบก็คือ จะสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วและนำมาใช้อย่างเหมาะสมได้อย่างไร
บริษัทตระหนักดีว่าการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญจึงได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) ขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามการใช้ระบบ ทำให้มีขึ้นตอนในการประมวลผลเพิ่มขึ้นและไม่คล่องตัว ดังนั้นในปีถัดมาทางบริษัทจึงตัดสินใจเพิ่มระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (ELS) ซึ่งเป็นระบบบนเครื่อง PC เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล ในลักษณะเรียลไทม์ (Real-time) ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้ช่วยอีกต่อไป เนื่องจากระบบ ELS ได้รับการพัฒนาให้ใช้งายง่าย (User-friendly) คำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะขององค์การ ทักษะ และการใช้งานของผูบริหารระดับสูง โดยระบบดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ด้านการตลาดเป็นผู้ดูแลบำรุงรักษาระบบ
ผู้บริหารระดับสูงของเฮิร์ตซ์ สามารถใช้ระบบ ELS ในการเลือกดูและวิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องการและมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าถึงข้อมุลในรายละเอียดเป็นระดับลงมาได้ (Drill-Down) รวมถึงความสามารถในการดึงข้อมูลจากเครื่องขนาดใหญ่ (Mainframe) และนำมาจัดเก็บไว้ในเครื่อง PC ของผู้บริหารเองและนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ในแบบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยไม่ต้องทำการวิเคราะห์บนเครื่องขนาดใหญ่ ระบบ ELS ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในปลายทศวรรษ 1990 ระบบ ELS ได้รับการเชื่อมโยงเข้ากับคลังข้อมูล (Data Warehouse) อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตขององค์การ ผู้บริหารของเฮิร์ทในท้องที่ต่างๆ สามารถรับทราบข้อมูลราคาที่แข่งขันทั้งหมดได้ลักษณะเรียลไทม์ (Real-time) และสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผละกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาต่อความต้องการรถยนต์ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว (Turban, et al., 2002: 457)

คำถาม
1. การกำหนดอัตราค่าเช่ารถแต่ละประเภทต้องพิจารณาปัจจัยใดบ้าง
ตอบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมของแต่ละแห่ง เช่น สถานที่ เทศกาล กิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ผู้แข่งขัน พฤติกรรมของลูกค้า

2. เพราะเหตุใดบริษัทเฮิร์ตจึงนำเอาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงมาใช้
ตอบ เนื่องจากระบบเดิมคือระบบ DSS นั้นพบว่าบางครั้งผุ้จัดการฝ่ายการตลาดต้องอาศัยผู้ช่วยเพื่อคอยช่วยเหลือในการใช้ระบบ ทำให้มีขั้นตอนในการประมวลผลเพิ่มขึ้น และไม่คล่องตัว จึงตัดสินใจเพิ่มระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ESS ซึ่งเป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลในลักษณะเรียลไทม์ (Real-time) ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องอายศัยผู้ช่วยอีกต่อไป

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7
1) อธิบายความหมายและองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ
- ระบบที่นำมาช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ไม่ได้กำหนดแนวทางในการจัดการไว้ล่วงหน้าชัดเจน
- องค์ประกอบหลัก ได้แก่
1. ส่วนจัดการข้อมูล
2. ส่วนจัดการโมเดล หรือ ส่วนจัดการตัวแบบ
3. ส่วนจัดการโต้ตอบ

2) ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
- สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
- สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
- สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่ม
- สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกัน
- สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
- สนับสนุนการตัดสินใจหลายๆรูปแบบ
- สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการจัดการเงื่อนไขต่างๆ มีความยืดหยุ่นสูง
- สามารถใช้งานได้ง่าย
- เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
- สามารถควบคุมทุกขั้นตอนในการตัดสินใจได้
- ผู้ใช้สามารถสร้างและปรับปรุงระบบ DSS ขนาดเล็กแบบง่ายๆได้ด้วยตนเอง
- มีการใช้แบบจำลองต่างๆ
- สามารถเข้าถึงข้อมูลจากหลายแหล่งได้

3) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร
ตอบ
- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้ใช้ระบบทำการตัดสินใจเอง และป้อนข้อมูลฐานระบบขอบเขตกว้างและซับซ้อน ไม่มีความสามารถในการให้เหตุผลและจำกัดความสามารถในการอธิบาย ส่วน
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ มีวัตถุประสงค์ในการทดแทนคำแนะนำของในมนุษย์ มีระบบทำการตัดสินใจและระบบคำถามกับผู้ใช้ ขอบเขตแคบและเฉพาะเจาะจง มีความสามารถในการให้เหตุผลอย่างจำกัด และมีความสามารถในการอธิบาย

4) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม มีประโยชน์และแตกต่างจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลอย่างไร
ตอบ
- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม เป็นการตัดสินปัญหาบางส่วนในองค์การต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
ประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม
1. ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิก
3. ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกัน
4. จัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสม
5. ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
6. อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุม
7. ช่วยประหยัดเวลาและสามารถลดจำนวนครั้งของการประชุมได้
- ส่วนระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละบุคคล ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆได้ด้วยตนเอง

5) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในด้านการบริการลูกค้าได้อย่างไร จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
- ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เช่นเมื่อทางร้านมีการเพิ่มโปรโมชั่นหรือส่วนลดพิเศษต่างๆก็สามารถแจ้งให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน ทำให้ลูกค้ามีความสนใจที่จะเข้ามาติดต่อเพราะลูกค้าจะเข้าใจระบบต่างได้ง่าย

กรณีศึกษา: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร

กรณีศึกษา: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร

กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา มักทำการเซนสัญญาระบบยาวในการเช่าซื้อหรือสร้างอาคารบ้านพักในบริเวณที่ไกล้ๆ กับฐานทัพต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน สร้างเมื่อใด อย่างไร มีรูปแบบใด เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และจำต้องทำการวิเคราะห์ตลอดอาคารบ้านพักเป็นส่วนๆ ด้วย โดยการวิเคราะห์ นี้เรียกว่า Segmented Housing Market Analysis หรือ SHMA ที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดทำถึงห้าหมื่นเหรีญญ และมีวัตถุประสงค์เดียวคือ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การวิเคราะห์โดย SHMA จะต้องตรงตามงบประมาณที่มมีอยู่และจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การที่ทำหน้าที่ตรวจสอบที่มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน นอกจากนั้นการวิเคราะห์ยังต้องพิจารณาสภาพเศรษฐกิจรอบๆ ฐานทัพและตลาดอาคารบ้านพักที่มีอยู่ในขณะนั้นด้วย เช่น จะต้องพิจารณาว่ามีบ้านพักให้กองทัพเช่าได้เพียงใด ปัญหานี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะในกองทัพมียศอยู่ถึง 20 ขั้น นายทหารยิ่งมียศสูงมากเท่าใดก็ยิ่งจำเป็นจะต้องมีอาคารบ้านพักที่ดีมากขึ้นเท่านั้น อาคารบ้านพักมีอยู่หกขนาด คือ จากขนาดห้องเดียว ไปจนถึงขนาดบ้านพักที่มีห้าห้องนอนขนาดของครอบครัวก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา การวิเคราะห์ SHMA นั้นใช้แบบจำลองเชิงปริมาณหลายรูปแบบ รวมทั้งแบบจำลองทางเศรษฐมิติด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์คำรวณสำหรับฐานทัพ 200 แห่งต้องใช้เวลานานและยังเกิดความผิดพลาดได้ง่ายโดยเฉพาะหากทำการคำนวณด้วยมือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยสามารถโต้ตอบกับโมเดลระบบวางแผนทางการเงิน (Financial Planning System (IFPS) Modeling Language) แผนผังของระบบ DSS แสดงในรูปแบบที่ 7.12 โดยส่วนประกอบของระบบที่อยู่ทางด้านซ้ายของรูป จะมีสองส่วนที่สำคัญคือ ฐานข้อมูล (Database) และฐานแบบจำลอง (Model Base)

1) ฐานข้อมูล (Database) ประกอบด้วย

- Off-post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ ฐานทัพ

- On - post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับการหาบ้านพักของนายทหารโดยแหล่งรข้อมูลภายในมาจากฐานข้อมูลภายในกระทรวงกลาโหมและรายงานต่างๆ สำหรับข้อมูลภายนอก มาจากรายงานสถิติ หอการค้า หรือจากฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Databese) เป็นต้น

2) ฐานแบบจำลอง (Model Base) มี 2 ส่วน คือ

- Regional Economic Model (RECOM) for the Area : เป็นโมลเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ราคาบ้าน ดัชนีผู้บริโภค รายได้ต่อคน และเงินช่วยเหลือ หรือสวัสดิการของทหาร ฯลฯ

- Modifed Segment Housing Market Analysis (MSHMA) : เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On - Post และ Off - post data เช่น ส่วนแบ่งตลาดบ้านพัก จำนวนบ้านพักใกล้ฐานทัพที่มีให้กองทัพเช่า ภาษีที่ต้องจ่าย รายได้ต่อครัวเรือน รวมถึงจำนวนประชากรทั้งหมด ฯลฯ

คำถาม

1. การตัดสินใจซื้อหรือสร้างบ้านของบุคคลโดยทั่วไปสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ท่านคิดว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหารว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน เมื่อใด และมีรูปแบบอย่างไร มีความจำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ มีความจำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพราะว่าการวิเคราะห์นั้นจะต้องพิจารณาไปถึงสภาพเศรษฐกิจรอบ ๆ และตลาดอาคารบ้านพักที่มีอยู่ เช่น จะต้องพิจารณาว่ามีบ้านพักให้กองทัพเช่าได้เพียงใด เพราะปัญหานี้มีความซับซ้อนมากเนื่องจากในกองทัพมียศทางทหารถึง 20 ขั้น นายทหารที่ยศสูงจะต้องมีอาคารบ้านพักที่ดีตามไปด้วย ขนาดของครอบครัวก็เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงด้วย ดังนั้นการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมาช่วยจะทำให้การวิเคราะห์มีความถูกต้อง

2. องค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ฐานข้อมูล (Database) ประกอบด้วย
Off-post Data เป็นข้อมูลลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ ฐานทัพ
On-post Data เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการหาบ้านพักของนายทหาร
2. ฐานแบบจำลอง (Model Base) มี 2 ส่วนคือ
Regional Economic Model (RECOM) for the Area โมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆ
Modified Segment Housing Market Analysis (MSHMA) โมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร หลายตัวแปรและข้อมูลที่มาจาก On-post และ Off-post Data

-------------------------------------------------------------------------------------------------