การจัดการความรู้ของบริษัท ควอลิตี้ เทรดดิ้ง จำกัด


การจัดการความรู้ของบริษัท ควอลิตี้ เทรดดิ้ง จำกัด
(QUALITY TRADING CO., LTD.)

บริษัท ควอลิตี้ เทรดดิ้ง จำกัด เป็นบริษัทที่จำหน่ายอะหลั่ยไฟฟ้า, นำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิก และเป็นบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัท Philips – ฟิลิปส์ บริษัท ได้ ทำการเปลี่ยนระบบโปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการ ระบบข้อมูล ภายในบริษัท ซึ่งจากเดิม จากเดิมบริษัท ควอลิตี้ เทรดดิ้ง จำกัด ได้ใช้ “ระบบจีเนียส” ซึ่งระบบจีเนียสเป็นระบบที่ทำงานอยู่ MS-DOS ทำให้การดึงข้อมูลออก หรือ “File Out” เป็นไปได้ช้า เช่น การทำ อินวอย ต้องคีย์ข้อมูลซ้ำๆ กัน หลังจากดึงข้อมูลออกมาแล้ว และมีข้อจำกัดหลายอย่าง ต่อมาบริษัท ได้จัดซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป “บ้านเชียง” ซึ่งเป็นระบบที่ run บน window ซึ่งทำให้การเรียกข้อมูล เป็นไปอย่างรวดเร็ว ระบบที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจะใช้เป็นการจัดเก็บแบบ reference เป็นรหัสสินค้าเข้าไปในระบบซึ่งถือเป็นเอกสารอ้างอิง ระบบบ้านเชียงก็จะทำการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลทั้งหมด รวมถึงข้อมูลของบริษัทลูกอีก 3 บริษัท ที่ จ.ภูเก็ต จ.หาดใหญ่ จ.เชียงใหม่ เช่น ข้อมูลการนำสินค้าเข้า และ การขายสินค้าออก จะถูกนำไปบันทึกเข้าไปยังระบบบ้านเชียงแล้วระบบจะส่งข้อมูลไปจัดเก็บไว้ในเครื่อง Server ของบริษัทแม่ ตัวผู้บริหารจะสามารถเข้าไปตรวจสอบระบบบ้านเชียงเพื่อไปดูรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมดได้

กระบวนการจัดการความรู้ของพนักงานบริษัท ควอลิตี้ เทรดดิ้งจำกัด (QUALITY TRADING CO., LTD.)




ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ควอลิตี้ เทรดดิ้ง จำกัด





เครื่อง Server ที่ใช้ในการ จัดการข้อมูลทุกอย่าง ร่วมถึงการติดต่อซื้อขาย ระหว่าง สาขาลูก อีก 3 สาขา





คณะผู้จัดทำ

คำถามท้ายบทที่ 12

1. เหตุใดองค์การจึงต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ

  • ตอบ เพราะการนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการดำเนินงานจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในองค์การมีหลากหลายประเภทเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของงานในองค์การต่างๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานบางอย่างให้สามารถพัฒนาระบบได้บรรลุวัตถุประสงค์
2. นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบอย่างไร และหากท่านต้องการเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่มีคุณภาพท่านควรต้องมีทักษะในด้านใดบ้าง

  • ตอบ นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ดังนั้นจึงเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ ต้องศึกษาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบงานและความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และออกแบบระบบใหม่หรือปรับปรุงระบบงานเดิมให้มีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ หากต้องการเป็นนักวิเคราะห์ระบบควรมีทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านการวิเคราะห์ ทักษะด้านการบริหารจัดการ ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร

3. ขั้นตอนในการพัฒนาระบบและผลลัพธ์ที่ได้จากแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ

3.1 การกำหนดและเลือกสรรโครงการ ผลลัพท์ที่ได้คือ

  • 1) อนุมัติโครงการ โดยให้ดำเนินโครงการในขั้นตอนการพัฒนาระบบต่อไป
  • 2) ชะลอโครงการ เนื่องจากองค์การยังไม่มีความพร้อม
  • 3) ทบทวนโครงการ โดยให้นำโครงการไปปรับแก้แล้วจึงนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาใหม่อีกครั้ง
  • 4)ไม่อนุมัติโครงการ หมายถึงไม่มีการดำเนินโครงการนั้นต่อไป

3.2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ ผลลัพธ์คือ แผนงานของโครงการและรายงานการสำรวจระบบเบื้องต้น

3.3 การวิเคราะห์ระบบ ผลลัพธ์คือ รายงานการวิเคราะห์ระบบซึ่งแสดงรายละเอียดในการวิเคราะห์ระบบปัจจุบัน ความต้องการของระบบใหม่ ค่าใช้จ่าย แผนงาน และทางเลือกของระบบใหม่ตามที่นักวิเคราะห์ระบบเสนอ

3.4 การออกแบบระบบ ผลลัพธ์คือ รายงานการออกแบบระบบซึ่งจะแสดงการออกแบบระบบทั้งหมด

3.5 การดำเนินการระบบ ผลลัพธ์คือ ระบบใหม่ที่พร้อมจะใช้งาน รายงานประกอบระบบและคู่มือการใช้ระบบ ซึ่งควรมีการประเมินผลหลังการติดตั้งระบบด้วย

3.6 การบำรุงรักษาระบบ เป็นการดูแลบำรุงรักษาระบบเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงาน

4. แรงจูงในต่อการเลือกแหล่งภายนอกให้มาพัฒนาหรือดูแลระบบสารสนทเศให้กับองค์การมีอะไรบ้าง และวิธีนี้มีข้อพึงระวังอย่างไร

  • ตอบ

แรงจูงใจใช้บริการจากแหล่งภายนอก คือ

  • 1. ด้านความคุ้มค่าทางการเงิน
  • 2. ด้านคุณภาพและความยืดหยุ่นในการทำงาน
  • 3. ด้านความสามารถในการแข่งขัน

ข้อพึงระวังในการใช้แหล่งภายนอกมาพัฒนาระบบ คือ

  • 1. อำนาจในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศลดลง
  • 2. การรั่วไหลของข้อมูล
  • 3. ความไม่สนใจติดตาดความรู้ด้านเทคโนโลยี-การพึ่งพิงผู้ให้บริการ

5. ท่านคิดว่าปัจจัยการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จควรประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย

  • ตอบ ปัจจัยของการพัฒนาระบบสารสนเทศ มีดังนี้
  • 1. การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
  • 2. มีการกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ชัดเจน
  • 3. ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ

กรณีศึกษา : ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย : Aircraft Surveillance System

กรณีศึกษา : ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย : Aircraft Surveillance System
(เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กันยนยน, 2547 และกุมภาพันธ์, 2548)
วิทยุการบินแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจหลักในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ และหนึ่งในภารกิจหลัก คือ การให้บริการจราจรทางอากาศบริเวณสนามบินทุกแห่งของประเทศ รวมถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่กำลังะเปิดใช้งานในอนาคต ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ของประเทศไทยที่มีขนาดกว้าง เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการใช้บริการดำเนินการเพื่อให้มีการบริการของเที่ยวบินต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และลดการล่าช้า (Delay) ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่สายการบินจากนานาชาติในส่วนของการบริการภาคพื้นซึ่งจะต้องอาศัยระบบติดตามอากาศยานที่ทันสมัยเพื่อให้สามารถควบคุมจราจรทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบนี้สามารถติดตามอากาศยานได้ตลอดเวลาด้วยข้อมุลที่ใกล้เคยงความเป็นจริงมากที่สุด

วิทยุการบินฯ จึงได้นำระบบอุปกรณ์ติดตามอากาศยานที่ทันสมัยเลยใช้เทคโนโลยีล่าสุดมาใช้สำหรับการบิรหารและจัดการอากาศยาน รวมถึงยานพาหนะในบริเวณท่าอากาศยาน ทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน ซึ่งระบบเป็นแบบบูรณการ (System Integration) เพื่อให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็น Interlligence Airport โดยการนำเอาข้อดีของระบบต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์การใช้งานที่แตกต่างกันมาเชื่อมโยงโดยมีระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมุลและสร้างฟังก์ชันการทำงานที่เพิ่มขึ้นและทำงานอย่างอัตโนมัติจึงสามารถใช้ศักยภาพของสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุบัติเหตุ และการล่าช้าของอากาศยาน รวมถึงลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศได้

การทำงานของระบบอุปกรณ์ ประกอบด้วย
  • · ระบบเรดาร์ปฐมภูมิ (Primary Surveillance Radar System : PPSR) สำหรับการติดตามเป้าอากาศยานระยะภายในรัสมี 80 และ 250 ไมล์ทะเลจากสนามบินตามลำดับ
  • ระบบเรดาร์ติดตามเป้าหมายบริเวณภาคพื้นสนามบิน (Advance Surface Movement Radar System) สำหรับติดตามเป้าอากาศยานและยานพาหนะที่เคลื่อนที่อยู่บริเวณโดยรอบสนามบินและบนสนามบิน
  • ระบบควบคุมการสื่อสาร (Voice Communication Control System) สำหรับควบคุมระบบวิทยุสื่อสารที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ควบคุมจราจรทางอากาศกับนักบิน
  • ระบบประมวลผลข้อมูลเรดาร์ (Radar Data Processing System) สำหรับการประมวลผลข้อมูลเรดาร์จากเรดาร์หลายๆ สถานี เพื่อระบุตำแหน่งและชื่อของอากาศยานนั้นๆ รวมถึงการมีระบบแจ้งเตือนให้แก่เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้น
  • ระบบประมวลผลข้อมุลการบิน (Flight Data Processing System) ทำหน้าที่รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการบินเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจในการควบคุมจราจรทางอากาศ
  • ระบบแสดงผลข้อมูล (Controller Working Position) สำหรับแสดงตำแหน่งและชื่อเรียกของอากาศยาน รวมถึงข้อมูลการบินที่ได้รับการประมวลผลจากระบบประมวลผลข้อมูลการบิน

นอกจากนั้นระบบติดตามอากาศยานยังได้ทำการเชื่อมต่อกันกับระบบอื่นๆ ได้แก่ ระบบไฟฟ้าสนามบิน (Airfield Lighting System) และระบบสารสนเทศสนามบิน (Airport Information System : AIMS) ของบริษัทท่าอากาศยานไทย เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้และสามารถทำงานได้โดย อัตโนมัติอีกทั้งยังมีระบบติดตั้งหอบังคับการบินสำหรับกรณีฉุกเฉิน (Emergency tower) เพื่อความปลอดภัยในการบินและมิให้การบินต้องหยุดชะงัก

คำถาม
1. วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศมีหลายวิธีด้วยกัน ในกรณีของระบบติดตามอากาศยานข้างต้นมีควมเกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของวิทยุการบินฯท่านคิดว่าควรเลือกใช้วิธีหรือแนวทางใดเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบดังกล่าว

  • ตอบ ความต้องการของท่าอากาศยานมีความต้องการระบบที่มีความทันสมัย และต้องการข้อมูลที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ระบบต้องเป็นระบบที่มีความสามารถเฉพาะด้าน และมีขนาดใหญ่ซับซ้อน จากขั้นต้นการพัฒนาระบบงานแบบรวดเร็ว (Rapid Application Development : RAD) จึงเหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ เพราะ ระบบพัฒนานี้สนับสนุนระบบที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนอีกทั้งให้ผู้ใช้นั้นได้มีส่วนรวมในการออกแบบระบบ และระยะเวลาในการพัฒนามีความรวดเร็วและคุณภาพดี อีกทั้งมีการนำซอฟต์แวร์มาช่วยในการพัฒนา

2. ระบบติดตามอากาศยานมีความสำคัญต่อวิทยุการบินฯ อย่างไร และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะได้รับผลกระทบจากการนำระบบนี้มาใช้หรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

  • ตอบ มีความสำคัญโดยการทำให้เที่ยวบินต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และลดการล่าช้า ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่สายการบินนานาชาติ และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศไม่ได้รับผลกระทบต่อระบบที่นำมาใช้ เพราะการนำระบบเข้ามาใช้ช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการลดอุบัติเหตุ และการล่าช้าของอากาศยาน รวมถึงการลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ