เมื่อวิเคราะห์ถึงสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้บริหารจึงตัดสินใจนำไอทีมาแก้ปัญหาเนื่องจากมองเห็นว่าเป็นเพียงแนวทางเดียวที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ โดยในระยะแรกมีการนำโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในบริษัทซึ่งใช้เวลา 8 ปีและใช้การลงทุนถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระบบที่ CAT นำมาใช้ในโรงงานต่างๆ เช่น
- หุ่นยนต์ (Robots)
- ระบบคอมพิวเตอร์ในการออกแบบ (Computer – Aided Design : CAD)
- ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (Computer – Aided Manufacturing : CAM)
- ระบบอื่นๆ เช่น ระบบวางแผนและบริหารการผลิต (Manufactruing Resource Planning : MRPII) ระบบจัดซื้อ (Purchasing System) และระบบโลจิสติกส์ (Logistics Systems) สิ่งที่ CAT ได้รับจากการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้มาใช้ คือ
- สามารถลดสินค้าที่ต้องจัดเก็บในคลังได้ 60 % และประหยัดค่าใช้จ่ายหลายล้านเหรียญสหรัฐ โดยไม่จำเป็นต้องปลดพนักงานออก
- กระบวนการผลิตง่ายขึ้น
- ทำการปิดโรงงานหรือคลังสินค้าใดที่มีค่าใช้จ่ายสูง
- เวลาในการผลิตสินค้าลดลงจาก 45 วัน เป็น 10 วัน
- การส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงเวลาเพิ่มขึ้น 70%
นอกจากนั้นบริษัทยังนำระบบจัดการซ่อมบำรุงและจัดหาชิ้นส่วนทดแทนมาใช้กับตัวแทนขาย (Dealers) และลูกค้า (Customers) ซึ่งระบบนี้ช่วยให้ตัวแทนขายสามารถหาชิ้นส่วนให้กับลูกค้าได้รวดเร็วขึ้นและช่วยให้สินค้าคงคลังอยูในระดับที่ต่ำ
สำหรับระบบงานด้านไอทีที่สำคัญอื่น ๆ เช่น
- ทำการเชื่อมโยง (Global Network) เทอร์มินัล 7,000 เครื่อง เข้ากับพนักงาน 50,000 คนและตัวแทนขาย 180 รายใน 1,000 แห่ง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงผ่านไฟเบอร์ออปติกและดาวเทียม และเป็นการรองรับงานที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) อินเทอร์เน็ต ระบบงานสื่อสารอื่นๆ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ทางด้านอินทราเน็ต
- ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System : EIS) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ หาแนวโน้ม และประเมิณการดำเนินงานของตัวแทนขาย
- ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) สำหรับตัวแทนขายและลูกค้า
- ระบบอินทราเน็ต (Intranet) โดยพนักงานของ CAT ประมาณ 95% สามารถเข้าถึงข้อมูลขององค์การได้
ในปี ค.ศ. 1993 บริษัท CAT หลักสถานการณ์กลับกลายมาเป็นบริษัทที่แข็งแกรงกว่าคู่แข่งขันสามารถควบคุมตลาดเครื่องจักรสำหรับการก่อสร้างในสหรัฐอเมริกาได้มากกว่า 30% ถึงแม้ว่าบริษัทสามารถขายสินค้าในตลาดต่างประเทศได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมด แต่ยังสามารถรักษางานและโรงงานในสหรัฐอเมริกาได้ ผลจากความพยายามของบริษัททำให้ได้รับรางวัล “Excellence in IS” จาก Information Week’s 1991 และมีผลต่อคู่แข่งขันรายใหญ่อย่างโคมัดซึเปลี่ยนกลยุทธ์จากรถเกลี่ยดินเพื่อเลี่ยงการชนกับ CAT
ด้วยชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีด้านเครื่องจักรสำหรับการก่อสร้าง บริษัทให้ลิขสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้า “Caterpilar” กับบริษัทที่ผลิตสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อแจ็คเก็ตและรองเท้า ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นเครื่องแต่งกายของคนงาน แต่ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างภาพลักษณ์ของเครื่องแต่งงานว่าเหมาะกับผู้ใส่ที่มีบุคลิกแข็งแกรงบึกบึนเหมือนรถแบคโอ สินค้าดังกล่าวกลับได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่นทำให้ยอดายเสื้อผ้าสูงปีละ 35,000 ล้านบาทและยอดขายรองเท้าถึงปีละ 8 ล้านคู่ (Turban,et al.,2001:75)
คำถาม
1. คู่แข่งที่สำคัญของบริษัทแคททิพิลลาร์คือบริษัทใด
ตอบ โคมัดซึ (Komatsu) ของประเทศญี่ปุ่น
2. ระบบสารสนเทศช่วยให้บริษัทได้เปรียบเทียบการแข่งขันอย่างไร
ตอบ ตัดสินใจนำไอทีมาแก้ปัญหาเนื่องจากมองเห็นว่าเป็นเพียงแนวทางเดียวที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ โดยในระยะแรกมีการนำโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในบริษัทซึ่งใช้เวลา 8 ปีและใช้การลงทุนถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระบบที่ CAT นำมาใช้ในโรงงานต่างๆ เช่น
หุ่นยนต์ (Robots)
ระบบคอมพิวเตอร์ในการออกแบบ (Computer – Aided Design : CAD)
ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (Computer – Aided Manufacturing : CAM)
ระบบอื่นๆ เช่น ระบบวางแผนและบริหารการผลิต (Manufactruing Resource Planning : MRPII) ระบบจัดซื้อ (Purchasing System) และระบบโลจิสติกส์ (Logistics Systems) สิ่งที่ CAT ได้รับจากการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้มาใช้ คือ
สามารถลดสินค้าที่ต้องจัดเก็บในคลังได้ 60 % และประหยัดค่าใช้จ่ายหลายล้านเหรียญสหรัฐ โดยไม่จำเป็นต้องปลดพนักงานออก
กระบวนการผลิตง่ายขึ้น
ทำการปิดโรงงานหรือคลังสินค้าใดที่มีค่าใช้จ่ายสูง
เวลาในการผลิตสินค้าลดลงจาก 45 วัน เป็น 10 วัน
การส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงเวลาเพิ่มขึ้น 70%
นอกจากนั้นบริษัทยังนำระบบจัดการซ่อมบำรุงและจัดหาชิ้นส่วนทดแทนมาใช้กับตัวแทนขาย (Dealers) และลูกค้า (Customers) ซึ่งระบบนี้ช่วยให้ตัวแทนขายสามารถหาชิ้นส่วนให้กับลูกค้าได้รวดเร็วขึ้นและช่วยให้สินค้าคงคลังอยูในระดับที่ต่ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น