กรณีศึกษาที่ 11-3 : โซ่อุปทานของบริษัทเชฟรอน เทคซาโก

บริษัท เชพรอน เทคซาโก (Chevron Texaco) เป็นบริษัทางด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ในการสำรองน้ำมันและก๊าชธรรมชาติ และใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ทางด้านการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทางบริษัทสูบน้ำมันและก๊าชธรรมชาติขึ้นมาในปริมาณที่เท่ากันมากว่า 11 ล้านบาร์เรลต่อวันซ่างทางบริษทสามารถกลั่นน้ำมันได้มากกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขายเชื้อเพลงและผลิตภัณฑ์ได้มากกว่า 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และเป็นเจ้าของร้านค้าปลีกหรือปั๊มซึ่งเป็นแฟรนไชส์ของบริษัทมากกว่า 25,000 ปั๊ม ภายใต้ชื่อ Chevron Texaco และ Caltex องค์การดำเนินงานมากกว่า 180 ประเทศ นอกจากนี้ บริษัท เชฟรอน เทคซาโก ยังเป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของอเมริกา มีรายได้ต่อปีเป็นเงิน 104 พันล้านเหรียญ สหรัฐ
ผู้บริหารได้กล่าวถึง

1) กระบวนการนำวัตถุดิบมาผลิต (Upstream) ในการผลิต กระบวนการดังกล่าว ประกอบไปด้วย การสำรวจ การขุดเจาะ และการสูบน้ำมัน กระบวนการเหล่านี้จะไม่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค

2) กระบวนการตามกระแส (Downstream) ซึ่งก็คือโซ่อุปทาน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้แก่ การสำรองน้ำมันให้เพียงพอสำหรับการกลั่น การขนส่งน้ำมันไปยังสถานีกระจาย รวมทั้งการขนส่งน้ำมันไปยังสถานีต่างๆ กระบวนการดังกล่าวยังขาดประสิทธิภาพซึ่งเป็นปัญหาที่ลูกค้าต้องเผชิญมาเป็นเวลาหลายปี กิจกรรมเหล่านี้ถูกจัดการแบบแยกต่างหาก พนักงานที่ทำงานกับกระบวนการดังกล่าวแบ่งปันข้อมูลกันแบบระบบเดิมและใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ไม่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ ทางบริษัทต้องเจ็บปวดจากการไม่มีผลผลิตสำรองกับการกักตุนผลผลิต การไม่มีผลผลิตสำรองเกิดขึ้นเมื่อสถานีก๊าชไม่มีก๊าชสำรอง การกักตุนเกิดขึ้นเมื่อก๊าชถูกส่งไปยังปั๊มมากเกินไป บางปั๊มต้องทำการเก็บไว้และคืนในเวลาต่อมา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทางบริษัทจำเป็นต้องประมาณการใช้หรือต้องคาดเดาการใช้มากกว่าความต้องการที่แท้จริง ฝ่ายการจัดการรู้ดีว่า สิ่งนี้นำมาซึ่งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในความเป็นจริงต้นทุนนี้จำเป็นต้องตัดออกไป

มันไม่ได้หมายความว่าทางบริษัทไม่ได้ใช้ข้อมูลความต้องการในอดีตเพื่อพยาการณ์ความต้องการสำหรับสองหรือสามเดือนข้างหน้า แต่แผนการดังกล่าวไม่ดีพอ การดำเนินการควรมีศักยภาพมากกว่านี้ถ้าผู้จัดการทราบปริมาณก๊าชที่จำเป็นในวันพรุ้งนี้โดยมีพื้นฐานมาจากความต้องการที่แท้จริง ไม่ใช่มาจากการพยากรณ์ความต้องการ

บริษัทน้ำมันหลายแห่งอยู่ในจุดเดียวกันที่ต้องติดตั้งระบบการบริหารโซอุปทาง เพราะพวกเขาคาบคุมกระบวนการทั้งหมดจากการขุดเจาะไปจนถึงการเติมน้ำมันให้ปั๊ม ดังนั้นอุปทานทั้งระบบต้องอยูในการควบคุมของทางบริษัทส่งผลให้พวกเขาไม่จำเป็ฯต้องเจรจากับบริษัทอื่นๆ ด้วย พวกเขาจะเป็นทั้งผู้ผลิตและ “ผู้ซื้อ” สินค้าที่พวกเขาท้ายที่สุดต้องขายให้กับลูกค้า

ในปี ค.ศ. 1997 ฝ่ายการจัดการตัดสินใจติดตั้งระบบบริหารโซ่อุปทาน ทางบริษัทใช้ผลิตภัณฑ์จาก SAP บริษัทเยอรมันเป็นผู้เชี่ยวชาญระบบนี้ ทางบริษัทซื้อระบบริหารโซอุปทาน (SCM) มาในราคา 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ระบบ SAP ทำงานคู่กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ถูกพัฒนาเฉพาะเจาะจงให้กับบริษัท เชพรอน เทคซาโก ซึ่งบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real Time) ณ สถานีก๊าช รวมทั้งสนับสนุนการวางแผนระบบสารสนเทศในอนาคตด้วย หลังจากการติดตั้ง ทางบริษัทใช้เงินไป 15 ล้านเหรียญต่อปี เพื่อการปรับปรุงและการบำรุงรักษาระบบ

หลายสิ่งเปลี่ยนไปอย่างมาก ปัจุบันเมื่อเติมก๊าชที่ปั๊มเชฟรอน เช่น มีช่องเติมน้ำมันอย่างน้อย 8 หรือ มากกว่า และบางปั๊ม ก็จะมีบริการล้างรถโดยอุปกรณ์ทันสมัยที่ไม่สามารถเห็นได้โดยคนขับรถ แต่ละแท็งก์ควบคุมโดยจอที่ดูระดับแบบอิเล็กทรอนิกส์ จอจะทำการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ เกี่ยวกับสถานะของแท็งก์เข้าสายเคเบิลไปยังระบบการจัดการของสถานีแล้วส่งเป็นสัญญาณดาวเทียมไปยังระบบบริหารสินค้าคงคลังของสำนักงานของบริษัทเซพรอน เทคซาโกใน ซาน เรมอน แคลิฟอร์เนีย เมื่อระดับของก๊าชในแท็งก์ต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ ข้อมูลก็จะถูกส่งไป ทำให้สถานีไม่ขาดแคลนก๊าช

ผู้จัดการใช้ข้อมูลความต้องการเพื่อทำนายความต้องการ พวกเขาไว้ใจระบบสารสนเทศมากจนกระทั่งพวกเขาใช้มันเพื่อกำหนดปริมาณน้ำมันที่ควรจะกลั่นรายเดือนด้วยการตรวจสอบรายสัปดาห์และรายวัน การวางแผนรายเดือนถูกพิจารณาว่าเสี่ยง ถ้าเพื่อว่าความต้องการไม่สามารถค้นพบ ระบบใหม่เปลี่ยนการตัดสินใจจากการพิจารณาจากการจ่าย (Supply Driven) มาเป็นการพิจารณาความต้องการ (Demand Driven) ในปีแรกของการติดตั้งระบบ ผลกำไรของทางบริษัทเพื่อขึ้นจาก 290 ล้านเหรียญ สหรัฐ มาเป็น 662 ล้านเหรียญสหรัฐด้วยความสามารถในการกลั่นและจำนวนสถานีค้าปลีกปริมาณเท่าเดิม ขณะที่การก้าวกระโดดนี้เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องขอบคุณการแทนที่คนด้วยเทคโนโลยีและการทำให้โซ่อุปทานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ในปี ค.ศ. 2000 กำไรของทางบริษืทเซพรอน เทคซาโก เป็น 778 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขึ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐจากปีก่อน

โซ่อุปทานนี้เริ่มต้นในเรมอน แคลิฟอร์เนีย และฮุสตตัน สำนักงานเท็กซัสที่ซึ่งผู้ค้าก๊าชและน้ำมันจะทำการตรวจสอบตลาด การกลั่นผลิตภัณฑ์ และแผนการขายเพื่อตัดสินใจว่าน้ำมันดิบและก๊าชเท่าใดที่พวกเขาจำเป็นต้องซื้อจากตลาดเปิด หรือแม้แต่บริษัท เชพรอน เทคซาโก ต้องซื้อน้ำมันเพราะมีการซื้อขายมากกว่าการผลิต สารสนเทศที่มีการบูรณาการแล้วมาจากสถานีแก๊ส สายการบิน และบริษัทขนส่งทั้งหมด

ข้อมูลช่วยให้บริษัทมีการวางแผนดีขึ้น ถ้าทางบริษัทสามารถทำนายความต้องการต่อเดือนได้ ผู้จัดการทั้งหลายก็จะมีเวลาในการค้นหาการซื้อขายที่น่าสนใจได้ ถ้าพวกเขาทำได้ พวกเขาสามารถประหยัดได้ถึง หนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสาม ของหนึ่งเซ็นต่อหนึ่งแกลอน จำนวนนี้สามารถประหยัดเงินได้ถึง 400,000 เหรีญญสหรัฐต่อเดือน ความต้องการนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความพอใจในการขายน้ำมันแต่มันตัดสินจากปริมาณน้ำมันที่ทำการขุดและกลั่นมากเท่าใดโดยบริษัทเองต่างหาก

ข้อมูลจากสถานีส่วนบุคคลถูกใช้เพื่อวางแผนสำหรับการส่งน้ำมันอีก 5 ครั้งในแต่ละสถานี อย่างไรก็ตามแผนการขนส่งน้ำมันเป็นแผนที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกปรับปรุงเมื่อมีข้อมูลการขายส่งเข้าสู่ระบบส่วนกลาง ระบบใช้อัลกอริทึมทางด้านโลจิสติกส์ เพื่อวางแผนการขนส่งรวมทั้งลดต้นทุนการขนส่งลง 6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการวางแผนแบบเก่า

บริษัท เวพรอน เทคซาโก ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าหลายบริษัทในอุตสาหกรรมนี้ จากการเปรียบเทียบด้วยตารางเมทริกซ์ทางด้านอุตสาหกรรมขนาดกลาง แสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างเด่นชัดว่า บริษัทเชพรอน เทคซาโก มีการดูแลรักษาผลผลิตของตนเองไว้เพียง 35 วัน และเป็นครึ่งหนึ่งของเวลาปกติคือ 74 วันในอุตสาหกรรมนี้ เก็บเงินจากลูกค้าเพียงแค่ 36 วัน หลังจากการขุดเจาะเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน 84 วัน และใช้เวลาเพียง 9 วันเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ จาก 20 วัน (ที่มา : Oz, 2004)

คำถาม

1. ระบบที่ใช้ในบริษัทเชพรอน เทคซาโก จัดว่าเป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์การแบบขยายขีดความสามารถ (Extended ERP) อย่างไร ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างจากรณีศึกษาประกอบ
  • ตอบ เพื่อกำหนดปริมาณของน้ำมันที่ควรจะกลั่นเป็นรายเดือน รายวัน ด้วยการตรวจสอบการวางแผนเพื่อการทำกำไรเพิ่มขึ้น ด้วยความสามารถในการกลั่นและการค้าปลีกที่เท่ากัน และอาจสามารถทำนายความต้องการต่อการใช้จ่ายก็ได้


2. ประโยชน์ที่ทางบริษัทเชพรอน เทคซาโกได้รับหลังจากการเปลี่ยนระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย

  • ตอบ ด้านการเติมก๊าซที่มีช่องเติมน้ำมันอย่างน้อย 8 ช่อง มีการบริการล้างรถที่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ที่ไม่สามารถเห็นได้โดยคนขับรถ แต่ละแท็งก์ควบคุมโดยจอที่ดูระดับแบบอิเล็กทรอนิกส์ จอจะทำการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับสถานะของแท็งก์เข้ากับสายเคเบิลไปยังระบบการจัดการของสถานี แล้วส่งเป็นสัญญาณดาวเทียมไปยังระบบบริหารสินค้าของสำนักงาน เมื่อระดับของก๊าซในแท็งก์ต่ำกว่าระดับที่กำหนด ข้อมูลจะส่งไปทำให้สถานีไม่ขาดแคลงก๊าซ


3. ท่านจะสเนอแนะแนวทางในการนำระบบ ERP มาใช้ปฏิรูปองค์การธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

  • ตอบ 1. การศึกษาและวางแนวคิด พิจารณาว่า องค์การต้องการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน หรือไม่ และจำเป็นต้องนำระบบมาใช้เพื่ออะไร
    2. การวางแผนนำระบบมาใช้ ต้องมีเป้าหมายและขอบข่ายของการนำระบบมาใช้ โดยต้องผ่านการอนุมัติจากผู้บริหารก่อน
    3. การพัฒนาระบบ ว่าระยะเวลาในการพัฒนาระบบต้องมีการระบุ เป้าหมาย พร้อมสำรวจว่าปัจจุบันต้องปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร
    4. การนำระบบมาใช้งานต้องประเมินผล เพื่อสามารถนำข้อมูลมาแก้ไขและขยายขีดความสามารถให้กับ ระบบได้อย่างเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น: